Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์
โครงสร้างส่วนราชการ
อำนาจหน้าที่
คู่มือการปฏิบัติงาน
คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ
คู่มือประชาชน
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
ข้อมูลผู้บริหาร
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
หน่วยตรวจสอบภายใน
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2563
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อเรา
ข้อมูลการติดต่อ
แผนการพัฒนา
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการดำเนินงานประจำปี
แผนอัตรากำลัง
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
แผนป้องกันการทุจริตประจำปี
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนอื่น ๆ
รายงาน
รายงานทางการเงิน
งบแสดงรายรับ – รายจ่าย
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือจัดหาพัสดุ
รายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือจัดหาพัสดุประจำปี
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันทุจริตประจำปี
บริการประชาชน
กระดานถาม-ตอบ (Q&A)
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ด
E -Sevice
Social Network
งานบริหารงานบุคคล
แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายหรือแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
ประกาศ/คำสั่งด้านการบริหารงานบุคคล
เอกสารเผยแพร่ความรู้
ประกาศด้านคุณธรรม จริยธรรม ของ อบต.
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การขับเคลื่อนจริยธรรม
การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
คุณธรรมและความโปร่งใส
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
มาตรการป้องกันการทุจริต
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่
รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
banner หนังสือสั่งการกรมฯ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สภาพเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ
1. การเกษตรและองค์กรการเกษตร
     ครัวเรือนเกษตรกร
     ตำบลบ้านเสี้ยว มีครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 767 ครัวเรือน โดยมีหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรอายุระหว่าง 56 – 65 ปี จำนวน 276 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 35.98 รองลงมาอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 238 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 31.03 และอายุ 46 – 55 ปี จำนวน 206 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 26.86 ตามลำดับ
ตารางที่ 1 แสดงหัวหน้าครัวเรือนจำแนกตามอายุ ตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
 
ช่วงอายุ (ปี) ครัวเรือน ร้อยละ
65 ปีขึ้นไป 238 31.03
56 - 65 ปี 276 35.98
46 - 55 ปี 206 26.86
36 - 45 ปี 37 4.82
26 - 35 ปี 8 1.04
18 - 25 ปี 2 0.26
รวม 767 100
ที่มา : ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง กรมส่งเสริมการเกษตร, พ.ศ. 2565
     
     ลักษณะการประกอบอาชีพ
     ตำบลบ้านเสี้ยว มีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพหลักส่วนใหญ่เป็นการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นหลักจำนวน 692 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90. 22 และประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นรอง จำนวน 75 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 9.778
ตารางที่ 2 แสดงลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกร ตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
 
ลักษณะการประกอบอาชีพ ครัวเรือน ร้อยละ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก 692 90.22
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นรอง 75 9.78
ที่มา : ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง กรมส่งเสริมการเกษตร, พ.ศ. 2565
     
     ลักษณะการถือครองที่ดิน

     ลักษณะการถือครองที่ดินของเกษตรกรตำบลบ้านเสี้ยว ส่วนใหญ่เกษตรกรเป็นเจ้าขององจำนวน 2,498 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 60.53 รองลงมาคืออื่น ๆ (ที่สาธารณประโยชน์, ทำฟรี) จำนวน 970 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 23.50 และเช่า จำนวน 659 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 15. 97 ตามลำดับ
ตารางที่ 3 แสดงลักษณะการถือครองที่ดินของเกษตรกร ตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
ลักษณะการถือครอง ครัวเรือน ร้อยละ
เกษตรกรเป็นเจ้าของเอง 605 62.56
อื่น ๆ (ที่สาธารณประโยชน์, ทำฟรี) 208 21.51
เช่า 154 15.93
** เกษตรบางส่วนมีการถือครองในทุกลักษณะ
ที่มา : ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง กรมส่งเสริมการเกษตร, พ.ศ. 2565
     
     ประเภทเอกสารสิทธิ์ (เฉพาะเกษตรกรเป็นเจ้าของ)

     เกษตรกรตำบลบ้านเสี้ยว มีการถือครองที่ดินแบบมีเอกสารสิทธิ์ประเภทโฉนด จำนวน 556 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 73.84 รองลงมาคือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ จำนวน 182 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 24. 17 และ ส.ป.ก. ทุกประเภทจำนวน 9 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 1.20 ตามลำดับ
ประเภทเอกสารสิทธิ์ (ครัวเรือน) รวม
โฉนด/น.ส.ทุกประเภท ส.ป.ก. ทุกประเภท หนังสือรับรอง
ของหน่วยงาน
เอกสารสิทธิ์
อื่น ๆ
556 9 6 182 605
ที่มา : ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง กรมส่งเสริมการเกษตร, พ.ศ. 2565
     
     ศักยภาพพื้นที่/ทรัพยากรการเกษตร
     ทรัพยากรดิน

     ตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่ามีเนื้อที่รวม 59,135 ไร่ ทรัพยากรดินส่วนใหญ่เป็นดินในพื้นที่ลาดชันสูง จำนวน 44,376.80 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 75.04 ของพื้นที่ รองลงมาเป็นดินในพื้นที่ดอนในเขตดินแห้ง จำนวน 14,135.90 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 23.9 ของพื้นที่ และดินในพื้นที่ราบลุ่ม จำนวน 339.38 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.57 ตามลำดับ
ตารางที่ 4 แสดงทรัพยากรดินตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
 
ประเภท เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ
ดินในพื้นที่ลาดชันสูง 44,376.80  75.04
ดินในพื้นที่ดอนในเขตดินแห้ง 14,135.90 23.9
ดินในพื้นที่ราบลุ่ม 339.38 0.57
พื้นที่เบ็ดเตล็ด 283.08 0.48
ที่มา : http://agri-map-online.moac.go.th/, พ.ศ. 2565
     ทรัพยากรน้ำ
ตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า เป็นพื้นที่อาศัยน้ำฝนในการทำการเกษตรเป็นหลัก และมีแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่ใช้ในการเกษตร

2. การประมง
     
เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านเสี้ยว ส่วนใหญ่เลี้ยงปลากินพืชในสระน้ำของตนเองเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน

3.การปศุสัตว์
     
เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในตำบลบ้านเสี้ยว ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อขายและบริโภคในครัวเรือ แหล่งที่เลี้ยงคือตามหัวไร่ปลายนาสวนมะขามของต้นเอง และเลี้ยงในป่าในช่วงฤดูฝน การปศุสัตว์ ได้แก่
     - การเลี้ยงโค ส่วนใหญ่เลี้ยงทุกหมู่บ้าน โดยจะเลี้ยงโคฝูงพันธ์พื้นเมือง และโคลูกผสมบรามัน 
     - การเลี้ยงกระบือ มีการเลี้ยงทุกหมู่บ้าน โดยอาศัยเลี้ยงตามหัวไร่ปลายนา สวนมะขามของตนเอง และตามที่สาธารณะ
      ส่วนใหญ่เป็นพันธ์พื้นเมือง เลี้ยงไว้เพื่อจำหน่าย และมีการใช้แรงงานบ้าง
     - การเลี้ยงสุกรมีการเลี้ยงทุกหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นพวกเจ้าของโรงสี มีส่วนน้อยที่เป็นเกษตรกรราย ย่อย
     - การเลี้ยงไก่  ส่วนใหญ่เลี้ยงกันเกือบทุกหลังคาเรือน เป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและเหลือจำหน่ายบ้าง
      สภาพการเลี้ยงปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ และเลี้ยงด้วยเมล็ดพืชต่าง ๆ 
 
4. การบริการ
     
ตำบลบ้านเสี้ยว มีสถานให้บริการต่าง ๆ ดังนี้
     1. หน่วยบริการประชาชนตำบลบ้านเสี้ยว จำนวน 1 แห่ง 
     2. ร้านซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ จักรยาน และเครื่องจักรทางการเกษตร จำนวน 4 แห่ง
     3. ร้านซ่อมวิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้า แอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 แห่ง
     4. ร้านตัดผมชาย ร้านเสริมสวย จำนวน 4 แห่ง
     5. สถานีให้บริการน้ำมันชนิดหัวจ่ายไฟฟ้า จำนวน 4 แห่ง
     6. ร้านขายน้ำมันหลอด ชนิดใช้มือหมุน จำนวน 3 แห่ง  
     7. โรงสีข้าว จำนวน 6 แห่ง
     8. ห้องพักรายวัน บ้านเช่า จำนวน 12 แห่ง
     9. สถานให้บริการนวดแผนไทย จำนวน 1 แห่ง   
     10. ร้านค้ามินิมาร์ท ร้านขายของชำ/สินค้าเบ็ดเตล็ด ร้านอาหารตามสั่ง ขายก๋วยเตี๋ยว ขายส้มตำ ขายไก่ย่าง
     ขายน้ำปั่น/เครื่องดื่ม ขายเนื้อสัตว์ ขายรองเท้า ขายโทรศัพท์มือถือและอื่น ๆ จำนวน 45 ร้าน/แห่ง
     11. ร้านจำหน่ายอุปกรณ์และซ่อมคอมพิวเตอร์  และร้านให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต จำนวน 5 แห่ง
     12. ร้านตัดเย็บผ้า จำนวน 3 ร้าน
     13. คลินิก จำนวน 1 แห่ง
     14. ร้านถ่ายเอกสาร / ส่งโทรสาร (แฟกซ์)  จำนวน 1 แห่ง
     15. เสาทวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ AIS) ระบบ TRUH และ DTAC จำนวน 3 แห่ง
     16. ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง จำนวน 1 แห่ง
     17. ร้านจำหน่วยปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์พืช วัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร จำนวน 3 แห่ง
     18. การให้บริการเครื่องเกี่ยวข้าว รถไถนา รถดูดข้าว รถสีข้าว จำนวนประมาณ  20 คัน

5. การท่องเที่ยว
     
ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านเสี้ยว แม้ว่าจะมีป้ายแสดงแหล่งท่องเที่ยว เช่น พระธาตุโคกอุ่มบง (อุ่มโมง) น้ำตกวังฆ้อง วังอนุรักษ์พันธุ์ปลาน้ำจืด ฯลฯ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ยังไม่ได้มีการบริหารจัดการในลักษณะการท่องเที่ยวแต่อย่างใด ด้วยข้อจำกัดหลายประการเช่น น้ำตกวังฆ้อง มีสภาพที่ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้และภูเขา จะมีน้ำไหลแต่เฉพาะในช่วงฤดูฝนและมีปริมาณน้ำมาก มีสีขุ่นและมีเศษกิ่งไม้ใบไม้ที่เกิดจากน้ำบ่าลงมาจากภูเขา ส่วนในช่วงฤดูแล้งจะไม่มีน้ำเลย แต่ถึงอย่างไรก็ตามในพื้นที่ตำบลยังมีสถานที่สำคัญต่าง ๆซึ่งอาจจะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้  ได้แก่
     1. น้ำตกวังฆ้อง
     2. วังอนุรักษ์พันธุ์ปลาน้ำจืด
     3. พระธาตุโคกอุ่มบง (อุ่มโมง)
     4. ศาลปู่ตาบ้านเสี้ยว (อนุสาวรีย์พ่อขุนบุญโฮม หรือท้าวแก่นบุญโฮม)  
     5. วัดและศาสนสถานต่าง ๆ  เช่น วัดมหาธาตุ วัดวังอ้อ วัดน้อย เป็นต้น
 
6. อุตสาหกรรม
     โดยทั่วไปแล้ว อุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบล จะเป็นอุตสาหกรรมระดับชุมชนและระดับครัวเรือนขนาดเล็ก ได้แก่ 
     1. โรงกลั่นสุราชุมชน จำนวน 3 โรง
     2. โรงน้ำดื่มชุมชน จำนวน 1 แห่ง
     3. โรงอิฐบล็อก จำนวน 1 แห่ง

7. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
     1. ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป 
     2. กลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน (ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าซิ่นมัดหมี่ ผ้าขาวม้า)
     3. กลุ่มแปรรูปมะขามหวาน
     4. กลุ่มตลาดสาธิต
     5. กลุ่มสุราชุมชน (วังน้ำเย็น/กระโจมทอง) 
     6. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
     7. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
     8. กลุ่มน้ำดื่มสะอาดชุมชน
     9. กลุ่มเลี้ยงสุกร
     10. กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ปุ๋ยชีวภาพ
     11. กลุ่มทำไม้กวาดตอบกง
     12. กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ชุมชน
     13. กลุ่มสตรีทอผ้าอาชีพ
     14. กลุ่มพัฒนาอาชีพผู้เลี้ยงสุกร
     15. กลุ่มเลี้ยงปลา
     16. กลุ่มเพาะเห็ด
     17. กลุ่มเลี้ยงกบ
     18. กลุ่มเลี้ยงโค – กระบือ
     19. กลุ่มหัตกรรมสตรี
     20. กลุ่มอาชีพงานฝีมือจักสาน และงานประดิษฐ์เศษกิ่งไม้ ใบหญ้า
     21. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
     22. กลุ่มอื่น ๆ






 

 

Responsive image